ชนเผ่าขี่ม้า หากชาวมองโกลไม่มีม้าแล้วไซร้ ก็เปรียบเสมือนนกที่ไม่มีปีก” นี่คือประโยคอมตะหากคุณพูดถึง ม้า และ ชาวมองโกเลีย

ชนเผ่าขี่ม้า มนุษย์เรานั้น เริ่มมีการจับสัตว์ป่าหลาย ชนิดมาเลี้ยงตั้งแต่หลายพันปีก่อน วัว, ควาย และ สุนัข ต่างก็มีจุดเริ่มต้นจากการ เป็นสัตว์ป่าทั้งนั้น เช่นเดียวกันกับ ม้า … สัตว์ที่ไปจับมาจากป่า แต่เมื่ออยู่กับมนุษย์แล้ว พวกมันถือเป็นหนึ่งเป็นสัตว์ที่ได้รับการดูแลอย่างดีที่สุดเสมอมา

ไม่มีที่ใดในโลกที่จะใช้ม้าเป็น ส่วนหนึ่งของชีวิตมากกว่าที่ มองโกเลีย ณ ประเทศนี้พวกเขาถูกยก ให้เป็นยอดนักขี่ม้าที่เก่งที่สุดในโลก และเคยใช้ม้าเป็นกำลังสำคัญในการพิชิตทวีปเอเชียมาเเล้ว ภายใต้การบัญชาของหนึ่ง ในนักรบที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก “เจงกิสข่าน”

แม้การไล่พิชิตทวีปเอเชีย จะผ่านไปนานเกือบ พันปี แต่ถึงอย่างนั้น อิทธิพลของอดีต “นักรบบนหลังม้า” ก็ยังส่งผลมา ถึงปัจจุบันอยู่ดี ชาวมองโกลยังใช้ม้าเป็นส่วนสำคัญในชีวิต ประจำวันไม่ผิดเพี้ยน และนี่คือเรื่องราว ความยิ่งใหญ่ระหว่าง “คน กับ ม้า” ที่คงอยู่มาเเสนนานจนโลก ต้องคารวะ

ติดตามข่าวสารได้เร็วกว่าได้ที่>>>กีฬาขี่ม้า

ครบถ้วนทุกกีฬาให้ได้เรียนรู้กัน >>>  ศึกษากีฬาม้า

ชนเผ่าขี่ม้า

การเดินทางและการพิชิตเอเชียด้วยม้า

“เป็นไปไม่ได้เลยที่จะจินตนาการถึงประวัติศาสตร์ชาติมองโกเลียหากว่าเราไม่มีม้า” นี่คือสิ่งที่ J. Tserendeleg ประธานสมาคมอนุรักษ์เพื่อมองโกเลียกล่าวเริ่มถึงสัตว์ 4 ขาที่มีอิทธิพลต่อชีวิตของชาวมองโกลมากที่สุด

ชนเผ่าขี่ม้า มองโกเลีย เป็นประเทศที่มีจุดเริ่มต้นจากเหล่าชนเผ่าเร่ร่อนอยู่ไม่เป็นหลักเป็นแหล่ง พวกเขาเดินทางตลอดชีวิต ย้ายไปทุกที่ กระทั่งชนเผ่า คิตัน ได้สถานปนาราชวงศ์เหลียวขึ้นในช่วงต้นศตวรรษที่ 10 และค่อยๆ สร้างดินแดนให้เป็นปึกแผ่น

เมื่อปี 1206 เจงกิสข่าน ได้ก่อตั้งอาณาจักรมองโกล ขึ้นและขยายอาณาจักร ออกไปไม่หยุดยั้ง จนครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของเอเชีย-ยุโรป นับเป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โลกมนุษย์ พวกเขาถูกกล่าวขานถึงว่าเป็นทัพนักรบบนหลังม้าที่โหด เหี้ยม และมีฝีมือมากที่สุดเช่นกัน

ในยุคที่ เจงกิสข่าน เป็นใหญ่นั้น ชาวมองโกล ไม่ว่าจะยากดีมีจนอย่างไรทุกครอบครัวจะต้องมีม้าอย่างน้อย 1 ตัว เพราะม้าจะเป็นสัตว์ที่พวกเขานำไปใช้ในกิจวัตรประจำวัน ทั้งการขนของหรือการใช้ขี่ไปดูแล ต้อนฝูงแกะหรือปศุสัตว์ต่างๆ

เด็กๆทุกคนจะต้องฝึกขี่ม้าตั้งแต่ 2-3 ขวบ พวกมองโกลจะมีอานม้าพิเศษสำหรับเด็ก และนั่นคือจุดเริ่มต้นที่ทำให้แทบทุกคนมีความเชี่ยวชาญเป็นอย่างมาก เมื่อเด็กๆ เหล่านี้เติบโตขึ้น พวกเขาจะไม่ได้ถูกฝึกให้ขี่ม้าเพียงอย่างเดียว แต่พวกเขาจะถูกสอนให้สู้รบ หรือยิงธนูจากบนหลังม้าของพวกเขาเองอีกด้วย

ตลอดศตวรรษที่ เจงกิสข่าน และมองโกลออกทำศึกนั้น มีคำกล่าวตามหลังจากผู้พ่ายแพ้แก่พวกเขาเสมอว่า กองทัพมองโกลคือ “นักขี่ม้าจากนรก” โดยว่ากันว่าในยุคที่การเดินทางไปรบแสนยากลำบากนั้น ชาวมองโกลกลับเดินทางได้มากถึงวันละ 80 ไมล์ (หรือ 128 กิโลเมตร) เลยทีเดียว

และความสุดยอดนี้เองที่ทำให้กองทัพที่ถือกำเนิดจากชนเผ่าเลี้ยงสัตว์เร่ร่อน ชนเผ่าขี่ม้า แถบทะเลทรายโกบีที่ได้ชื่อว่าป่าเถื่อนและล้าหลัง สามารถรบชนะกองทัพของดินแดนแห่งอารยธรรมได้อย่างไม่ยากเย็นตั้งแต่เหนือจรดใต้จาก เกาหลี จีน ทิเบต รัสเซีย ถึงแคว้นอาร์เมเนีย

ติดตามรับชมแบบสดๆได้ตลอดเวลา คลิก>>>ดูบอลสด

ชนเผ่าขี่ม้า

ไม่ใช่เก่งแค่ขี่รบ แต่ พวกเค้า สามารถครบคุมม้าได้ตามความตั้งใจของพวกเค้า

นอกจาก เจงกิสข่าน จะใช้ม้าเพื่อรบเเล้ว เขายังใช้ม้าเป็นเหมือนกับ “บุรุษไปรษณีย์” ด้วย เนื่องจากในเวลานั้นขอบเขตการปกครองของมองโกลนั้นกว้างใหญ่มาก ดังนั้นจึงมีการก่อตั้งสถานีส่งข้อความต่างๆโดยใช้ม้าเป็นตัวแพร่กระจายข่าวไปอย่างรวดเร็วอีกด้วย

แม้ม้าจะเป็นสัตว์ที่ชาวมองโกลใช้ในการพิชิตเอเชียเเล้ว ยังมีความลับอีกเรื่อง กล่าวคือชาวมองโกลกับม้านั้นแทบจะเป็นหนึ่งเดียวกันในทุกกิจวัตรประจำวันของชีวิต ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งพวกเขาตาย

ชาวมองโกล เลี้ยงม้าต่างจากชาติในยุโรปมาก ที่นี่ม้าไม่ใช่สินค้าราคาแพงที่คนจนจะเอื้อมไม่ถึง ชาวมองโกลไม่นิยมให้ม้ากินธัญพืชต่างๆ, ฟาง หรืออะไรก็เเล้ว พวกเขาจะไม่จับม้าขังคอกเหมือนกับพวกยุโรป แต่พวกเขาจะปล่อยให้ม้าได้กินหญ้าตามที่ราบอันกว้างใหญ่ โดยมีความเชื่อว่าธรรมชาตินั้นคืออาหารที่ดีที่สุด และที่สำคัญการเลี้ยงแบบธรรมชาติยังทำให้พวกเขาไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายที่มากจนเกินไปด้วย พวกเขามีความคิดที่ว่าม้าไม่ใช่สิ่งที่แสดงถึงฐานะ แต่คือสัตว์ที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวันมากกว่า

แต่ถึงอย่างนั้นสิ่งที่ชาวมองโกลทำกับม้ามันลึกซึ้งเกินกว่าจะอธิบายได้ มีนักเขียนและนักเดินทางชาวเดนมาร์กชื่อ เฮนนิ่ง ฮาสลุนด์ เคยอธิบายว่า ม้าของชาวมองโกลเหมือนกับม้าป่า ที่ไม่ยอมให้ใครบังคับ แต่พวกมันเลือกจะทำตามเอง
“มันเป็นเรื่องที่สุดยอดมาก ที่ชาวมองโกลสามารถเชื่อมต่อกับม้าของพวกเขาได้ เมื่อพวกเขากระโดดขึ้นหลังม้า เมื่อนั้นพวกเขาจะแสดงสีหน้าว่ามีความสุข แต่ในทางเดียวกันมันจะแสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งและความสง่างามของชาวมองโกลด้วย” ส่วนหนึ่งที่ ฮัสลุนด์ เขียนไว้ในปี 1934

หากจะย้อนไปไกลกว่านั้นก็มีหลักฐานการยืนยันจากบันทึกการเดินทางของ จิโอวานนี่ เด คาร์ปินี นักบวชคณะฟรังซิสกันผู้มาเยือนมองโกเลียในปี 1240 และนักบวชจากแดนไกลพบว่า “นี่คือเรื่องที่ไม่มีที่ไหนในโลกอีกเเล้ว”

“ลูกๆ ของพวกเขาเริ่มต้นขี่ม้าตั้งแต่อายุ 2-3 ขวบ พวกเขาจะได้เริ่มควบม้าและบังคับมัน เด็กๆ พวกนี้ว่องไวและกล้าหาญ ต่อให้เป็นเด็กผู้หญิงก็คล่องแคล่วไม่ต่างกับเด็กผู้ชาย” นี่คือสิ่งที่ จิโอวานนี่ ยืนยัน

3 ขวบสำหรับสำหรับเริ่มต้น 4 ขวบสำหรับการบังคับ 6 ขวบสำหรับการควบม้า เพื่อเเข่งขัน และ 10 ขวบเพื่อเป็นสุดยอด นักขี่ม้าและทำให้ม้าเป็นหนึ่ง เดียวกับพวกเขา  นี่คือวิถีที่เด็กๆ ชาวมองโกลถูกปลูกฝังมาแต่เด็ก และมันบอกอะไรได้หลายอย่างว่า ทำไมพวกเขาจึงยิ่งใหญ่จากการรบบนหลังม้า